คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพระราชกฤษฎีกาประกาศตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 โดยสังกัดอยู่ภายใต้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จนกระทั่งถูกโอนมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2510 เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย ถือกำเนิดจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งนี้เริ่มขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงเพียงแปดเดือนเท่านั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทย ประสบความยากลำบากทางการเมืองและเศรษฐกิจ อีกทั้งจำเป็นต้องมีการบูรณะบ้านเมืองที่เสียหายจากการทิ้งระเบิด คณะแพทยศาสตร์แห่งนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาวงการสาธารณสุขของประเทศ ในช่วงเวลาที่ประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐานแพทยศาสตรศึกษา ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์ความร่วมมือขององค์การอนามัยโลก 3 สาขา ได้แก่ ศูนย์ความร่วมมือด้านแพทยศาสตรศึกษา ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยการสืบพันธุ์ของมนุษย์ ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยและฝึกอบรมด้านไวรัสและโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน[1][2][3][4]คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย[5] มีหน้าที่หลักในการผลิตบัณฑิตทั้งในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางการแพทย์และสหศาสตร์[5] เผยแพร่ความรู้สู่สังคมและให้การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนทั่วไป มีชื่อเสียงและผลงานด้านการรักษาพยาบาล รวมถึงงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติในปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีภาควิชาที่ทำการเรียนการสอนอยู่ 21 ภาควิชา และมีหน่วยงานภายใน 9 หน่วยงาน[6] โดยแต่ละภาควิชาจะมีฐานะเป็นแผนกหนึ่งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยและคณะบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นบุคคลคนเดียวกัน[7] นอกจากนี้คณาจารย์ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อีกด้วย[8]ที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ในพื้นที่ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภาากาชาดไทย เป็นพื้นที่ใจกลางเขตธุรกิจ การเงินและการทูตของประเทศไทย ด้านทิศตะวันตกติดกับถนนอังรีดูนังต์ ทิศใต้ติดกับถนนพระรามที่ 4 ด้านทิศตะวันออกติดกับถนนราชดำริและสวนลุมพินี ทิศเหนือติดกับราชกรีฑาสโมสร หรือ สนามม้าปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร สามารถเดินทางมาถึงได้โดย รถยนต์ส่วนตัว รถโดยสารประจำทาง รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานครและรถโดยสารภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[9]

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์ www.md.chula.ac.th
อักษรย่อ พ.
วันก่อตั้ง 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 - ในนาม "คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์"
25 ตุลาคม พ.ศ. 2510 - โอนมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น "คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
สัญลักษณ์ ชื่อคณะบนพื้นวงกลมสีทองหรือสีเขียวล้อมพระเกี้ยว
สถานปฏิบัติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เฟซบุ๊ก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่อยู่ เลขที่ 1873 ถนนพระรามที่ 4
แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร 10330
วารสาร จุฬาลงกรณ์เวชสาร
คณบดี ศ. นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ
ชื่ออังกฤษ Faculty of Medicine,
Chulalongkorn University
สีประจำคณะ      สีเขียวใบไม้

ใกล้เคียง

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/771520 http://www.chulasurgery.com/ http://www.cu-obgyn.com/ http://maps.google.com/maps?ll=13.733237,100.53679... http://www.mdcualumni.com/th/kingRama8.php http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.7332... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.thaicraniofacial.com/ http://apps.who.int/whocc/Detail.aspx?cc_ref=THA-1... http://apps.who.int/whocc/Detail.aspx?cc_ref=THA-5...